วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556


เครื่องหมายประจำจังหวะ  ประกอบด้วยสองส่วน  คือเลขตัวบน  และเลขตัวล่าง  ซึ่งวางซ้อนกันอยู่บนบรรทัดห้าเส้น โดยที่ไม่มีเส้นขีดคั้นกลางระหว่างตัวเลขสองตัว   





เลขตัวบน    แสดงจำนวนจังหวะในหนึ่งห้อง  
จากรูป เลขตัวบน เป็น  4  หมายความว่า ในแต่ละห้อง จะมี 4 จังหวะ
     ถ้าหากว่าเป็นเลข  2      หมายความว่า ในแต่ละห้อง จะมี 2 จังหวะ
                  เป็นเลข    6    หมายความว่า  ในแต่ละห้อง  จะมี 6 จังหวะ    
เลขตัวล่าง  แสดงค่าตัวโน้ตและตัวหยุดที่ใช้เป็นเกณฑ์ 
จากรูป เลขตัวล่างเป็นเลข 4 หมายความว่า  โน้ตตัวกลมมีค่าเท่ากับ 4 จัวหวะ  ตัวขาวเท่ากับ 2 จังหวะ  ตัวดำ  เท่ากับ 1 จังหวะ 
ถ้าหากว่า เป็นเลข  2  หมายความว่า  โน้ตตัวกลมมีค่าเท่ากับ  2 จังหวะ  ตัวขาวเท่ากับ  1 จังหวะ  ตัวดำ เท่ากับ ½ จังหวะ
หรือ เป็นเลข  8   หมายความว่า  โน้ตตัวกลม มีค่าเท่ากับ 8 จังหวะ   ตัวขาวเท่ากับ 4 จังหวะ  ตัวดำ เท่ากับ 2 จังหวะ

กุญแจซอล 
 กำหนดให้เส้นที่สอง  ของบรรทัดห้าเส้นมีชื่อ G   ใช้บันทึกโน้ตที่มีระดับเสียงสูง


กุญแจฟา  กำหนดให้เส้นที่สี่ ของบรรทัดห้าเส้นมีชื่อ F   ใช้บันทึกโน้ตที่มีระดับเสียงต่ำ


การเรียกอ่านตัวโน้ตที่บันทึกบนบรรทัดห้าเส้น 
ชื่อระดับเสียง                        โด      เร      มี     ฟา     ซอล     ลา     ที    
ชื่อตัวอักษร                         C   D   E   F    G     A   B 
ชื่อตัวเลข                1   2    3    4    5     6     7








*เพิ่มเติม 1
จากรูป


     เพิ่มเติม  2 เสียงโน้ตจะมีอยู่แค่เจ็ดเสียง และจะวนเป็นกลมไปเรื่อย  โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด  เร  มี ฟา ซอล ลา ที โด เสียงจะสูงขึ้นไปเรื่อย  ๆ  หรือว่าจะไล่ย้อนกลับ  โด  ที  ลา  ซอล  ฟา  มี  เร  โด ที  ลา ซอล  ฟา มี เร  โด  เสียงก็จะต่ำลงไปเรื่อย ๆ   
วิธีการเล่นบนคีบอร์ดหรือเปียโน
จากรูปกุญแจซอลข้างบน  ไล่ระดับเสียง  โด   เร มี  ฟา .........ขึ้นไปเรื่อย ๆ   เริ่มจากโน้ตเสียงกลาง  จากรูปคีบอร์ด ตรงที่เป็นสีเหลือง   ทางซ้าย จะเป็นเสียงต่ำ  ทางขวาเป็นเสียงสูง  ตามรูป


รูปต่อไป จะบอกว่า คีบอร์ดไหนจะเป็นเสียงอะไร













*เพิ่มเติม 3

เรามีอีกรูปหนึ่ง จะแสดงถึงว่า โน้ตแต่ละตัวที่บันทึกลงในกระดาษ  ไม่ว่าจะเป็นกุญแจซอล หรือกุญฟา เอามาเปรียบเทียบว่า โน้ตตัวนั้นจะต้องกดคีบอร์ดอันไหนงับ  โดยจากโน้ตแล้วมีลูกศรชี้ไปที่ คีบอร์ดที่ต้องกดงับ


อาเชียน+9

ข้อมูลพื้นฐานประเทศสมาชิกอาเซียน


       
บรูไน ดารุสซาลาม (BRUNEI DARUSSALM)
เมืองหลวง             บัลดาร์ เสรี เบกาวัน
วันชาติ                  23 กุมภาพันธ์
สกุลเงิน                ดอลลาร์บรูไน
วันเข้าร่วมอาเซียน   7 มกราคม 2527
   

ราชอาณาจักรกัมพูชา (KINGDOM OF CAMBODIA)
เมืองหลวง              กรุงพนมเปญ
วันชาติ                   9 พฤศจิกายน
สกุลเงิน                 เรียล
วันเข้าร่วมอาเซียน    9 เมษายน 2542 
 
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (REPUBLIC OF INDONESIA)
เมืองหลวง              กรุงจาการ์ตา
วันชาติ                  17 สิงหาคม
สกุลเงิน                 รูเปียห์
วันเข้าร่วมอาเซียน    8 สิงหาคม 2510 
 
 
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
(LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC)
เมืองหลวง              นครเวียงจันทร์
วันชาติ                   2 ธันวาคม
สกุลเงิน                 กีบ
วันเข้าร่วมอาเซียน    23 กรกฎาคม 2540
 
 
มาเลเซีย (MALAYSIA)
เมืองหลวง              กรุงกัวลาลัมเปอร์
วันชาติ                   31 ธันวาคม
สกุลเงิน                 ริงกิต
วันเข้าร่วมอาเซียน    8 สิงหาคม 2510
 
    
        
สหภาพพม่า (THE UNION OF MYANMAR)
เมืองหลวง              เมืองเนปีดอ
วันชาติ                   4 มกราคม
สกุลเงิน                 จั๊ต
วันเข้าร่วมอาเซียน    23 กรกฎาคม 2540
   
 
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (REPUBLIC OF THE PHILIPPINES)
เมืองหลวง               กรุงมะนิลา
วันชาติ                   12 มิถุนายน
สกุลเงิน                  เปเซ
วันเข้าร่วมอาเซียน    8 สิงหาคม 2510
 
   
 
 
สาธารณรัฐสิงคโปร์ (REPUBLIC OF SINGAPORE)
เมืองหลวง              สิงคโปร์
วันชาติ                   9 สิงหาคม
สกุลเงิน                 ดอลลาร์สิงคโปร์
วันเข้าร่วมอาเซียน    8 สิงหาคม 2510
  
 
 
 
ราชอาณาจักรไทย (KINGDOM OF THAILAND)
เมืองหลวง              กรุงเทพมหานคร
วันชาติ                   5 ธันวาคม
สกุลเงิน                 บาท
วันเข้าร่วมอาเซียน    8 สิงหาคม 2510
  
 
 
 
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
(SOCIALIST REPUBLIC OF VIETNAM)
เมืองหลวง              กรุงฮานอย
วันชาติ                   2 กันยายน
สกุลเงิน                 ด่ง
วันเข้าร่วมอาเซียน    28 กรกฎาคม 2538

2015 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
8 อาชีพหลักท่ีลูกรักควรสนใจ
ในปี ค.ศ. 2015 ( พ.ศ.2558) ที่จะถึงนี ้เราจะมีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเกิดขึ ้น ซึ่งอาเซียน
(ASEAN) หรือ สมาคมประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association for
Southeast Asian Nations) ประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย
ฟิ ลิปปิ นส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ได้รวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือเสริมสร้างให้ภูมิภาค
มีสันติภาพน ามาซึ่ง เสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
อีกทั ้งได้จัดตั ้งประชาคมเศรษฐกิจ (ASEAN Economic Community: AEC)
เพื่อส่งเสริมให้เป็ นตลาดและฐานผลิตเดียวที่มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และการลงทุน
แรงงานฝี มือ และเงินทุนอย่างเสรี ทั ้งนี ้ได้ก าหนดเป้ าหมายให้เป็ นปี ที่มีลักษณะของการรวมกลุ่ม
ประเทศเปลี่ยน เป็ นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ท าให้เกิดผลกระทบด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งด้านแรงงาน จะมีการถ่ายเทแรงงานด้านฝี มือเพื่อให้สามารถท างานในประเทศสมาชิกได้ง่ายขึ ้น
ใน 8 สาขาอาชีพ คือสิงหาคม
2
1. วิศวกรรม
2. การส ารวจ
3. สถาปัตยกรรม
4. แพทย์
5. ทันตแพทย์
6. พยาบาลสิงหาคม
3
7. บัญชี
8. การบริการ/การท่องเที่ยว
อาชีพอิสระที่ได้มาตรฐานได้รับการรับรองสามารถเคลื่อนย้ายไป ท างานในประเทศแถบอาเซียน
ได้ทันที ไม่มีการปิ ดกั ้น อาชีพที่ได้ตกลงไว้คือ แพทย์ พยาบาล บัญชีสถาปนิก วิศวกร
โดยในตอนแรกมีการตกลงว่าภาษาที่ใช้ในประชาคมคือภาษาอังกฤษ ซึ่งนักเรียนควรตระหนักใน
เรื่องนี ้ให้มาก จะต้องเรียนให้เก่งจริง เมื่อเรียนจบปริญญาตรีต้องใช้องค์ความรู้ที่เรียนมาให้เกิดประโยชน์
สูงสุด ซึ่งจะต้องรู้ภาษาอังกฤษ รู้ภาษาจีน รอบรู้ประวัติศาสตร์และรู้เทคโนโลยีด้วย
ขณะนี ้มีหลายประเทศที่รายได้เฉลี่ยต ่ากว่าไทย ดังนั ้นจะมีแรงงานต่างชาติเข้ามาท างานใน
เมืองไทยอย่างแน่นอน ช่วง 5 ปี ต่อจากนี ้ไปอาจยังไม่มีผลกระทบทางลบมากนัก แต่นานไปก็น่าเป็ นห่วง
ว่าคนไทยจะไม่มีงานท า หรือโดนแย่งงานจากแรงงานต่างชาติ
ใน 4-5 ปี ข้างหน้า 10 ประเทศก็จะเหมือน 10 จังหวัด ในการเปิ ดเสรีทางเงินทุน การค้า การ
บริการ แต่ข้อเท็จจริงการเคลื่อนย้ายแรงงานฝี มือจะต้องมีกฎกติกาตามเงื่อนไขที่ตกลง กัน ในประเด็น 7
สาขาวิชาชีพ ช่างส ารวจ สถาปนิก บัญชี แพทย์ หมอฟัน วิศวกร พยาบาล
เมื่อมีกฎแล้วต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของประเทศนั ้น ๆ ด้วย เช่น วิศวกร จะไปท างานที่ประเทศ
สิงคโปร์ ก็ต้องผ่านการสอบของสิงคโปร์ด้วย กลุ่มแรงงานระดับล่างยังไม่ตกลงเพราะเป็ นเรื่องใหญ่ แต่อีก
กลุ่มวิชาชีพหนึ่งคือ บุคลากรวิชาชีพทางการท่องเที่ยว ก าลังอยู่ในขั ้นตอนการตกลง มี 9 ประเทศลงนามสิงหาคม
4
เรียบร้อยแล้ว แต่ไทยยังไม่ลงนามเพราะติดกรอบทางด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการท าข้อตกลง
กับต่างประเทศต้องได้รับการยินยอมจากรัฐสภา แม้ยังไม่ลงนามก็มีการเตรียมความพร้อมไว้แล้ว ถ้าไม่ลง
นามก็ไม่สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานได้
อย่างไรก็ตามสิ่งส าคัญที่ควรจะกล่าวถึงเรื่องของสมรรถนะ ความรู้ความสามารถ
(Competency) ในการบริการ การท างานกับเพื่อนร่วมงานอย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถใน
การปรับตัว ความเร็วในการท างาน ความยืดหยุ่นในการท างานเป็ นหลัก แต่ต่อไปนี ้จะท างานตามหน้าที่
คนมีสมรรถนะคือคนที่ท างานเร็ว เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาสม ่าเสมอ
พ่อแม่ผู้ปกครองควรสนใจในเรื่องนี ้และปูแนวทางให้ลูกรัก อย่างถูกหลัก วางแผนชีวิตให้เหมาะสม
กับความเปลี่ยนแปลงที่คืบคลานมาอย่างรวดเร็วอย่ากระพริบตา อาจพลาดพลั ้งสูญเสียงานส าคัญให้
ชาวต่างชาติ และคนไทยเป็ นได้เพียงมนุษย์เงินเดือนธรรมดาๆ ที่ไม่มีทักษะ ไม่มีสมรรถนะ และไม่มี
ประเทศไหนรับท างานเลยก็ได้ ถามตัวเองว่าลูกหลานเราจะเป็ นอันดับที่เท่าไรในตลาดประชาคมอาเซียน
ราตรี ศรีไพรวรรณ

เกร็ดความรู้... อาเซียน +6 คืออะไร ?




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก aseansec.org

            ก่อนที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Association of South East Asian Nations : ASEAN) หรือ ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 เราทุกคนควรรู้จักเกร็ดข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอาเซียนให้มากขึ้น และที่กระปุกดอทคอม จะขอพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกันในวันนี้ก็คือ เรื่องราวของ "อาเซียน +6" ที่ได้ยินชื่อกันบ่อย ๆ แต่หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า "อาเซียน +6" นี้คืออะไร หากใครยังไม่รู้จัก ตามมาอ่านกันเลย


 อาเซียน +6 จัดตั้งขึ้นเพื่ออะไร  

            สำหรับ "อาเซียน +6" ก็คือ การรวมกลุ่มกันของ 16 ประเทศ ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม, พม่า, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, ลาว, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม รวมกับประเทศที่อยู่นอกอาเซียนอีก 6 ประเทศ คือ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และอินเดีย ซึ่งหากนับจำนวนประชากรในกลุ่มนี้แล้ว จะพบว่า อาเซียน +6 มีประชากรรวมกันกว่า 3 พันล้านคน หรือคิดเป็น 50% ของประชากรโลกเลยทีเดียว

            หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมอาเซียนต้องรวมกลุ่มกับอีก 6 ประเทศนอกอาเซียนด้วย คำตอบก็คือ การรวมกลุ่มอาเซียน +6 นี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มในการลงทุน การทำการค้า ฯลฯ ให้มีศักยภาพสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ เช่น สหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมทำข้อตกลงการเปิดการค้าเสรี ด้วยการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น พร้อมกับผนวกกำลังของแต่ละกลุ่มการค้าเข้าด้วยกัน เพื่อให้กลุ่มประเทศอาเซียนสามารถดำเนินเศรษฐกิจได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น


 ความเป็นมาของ อาเซียน +6  

            ที่มาของแนวคิด "อาเซียน +6" นี้ เริ่มขึ้นครั้งแรกในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AEM-METI) และ AEM+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 โดยญี่ปุ่นเสนอให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญภาควิชาการ (Track II) ของกลุ่มประเทศ East Asia Summit (EAS ประกอบด้วยอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง Comprehensive Economic Partnership in East Asia (CEPEA) ซึ่งเป็น FTA ระหว่างประเทศอาเซียน+6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์)
            จากนั้น ในการประชุม East Asia Summit ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2550 ณ เมืองเชบู ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ประชุมก็มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการศึกษาเรื่องดังกล่าว โดยประเทศญี่ปุ่นได้จัดประชุมร่วมกันระหว่างนักวิชาการซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละประเทศครั้งแรกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA)

            ทั้งนี้ กลุ่มนักวิชาการได้ประชุมร่วมกันทั้งหมด 6 ครั้ง ระหว่างปี พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2551 ก่อนจะได้ผลสรุปว่า หากมีการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) จะทำให้เกิดความสะดวกในด้านการค้าและการลงทุน ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ พลังงาน สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศ 

            เมื่อได้ข้อสรุปดังนี้ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจึงมีมติให้ศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) ในระยะที่ 2 โดยเน้นเรื่องความร่วมมือ (Cooperation), การอำนวยความสะดวก (Facilitation) และการเปิดเสรี (Liberalization)ที่จะช่วยสร้างความสามารถของประเทศสมาชิก เพื่อรองรับการเปิดเสรีภายใต้อาเซียน+6 (CEPEA)

            ทั้งนี้ ในการประชุมเมื่อวันที่ 13-16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญก็ได้ข้อสรุปว่า การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) ควรให้ความสำคัญเรื่องความร่วมมือเป็นอันดับแรก พร้อมกับเน้นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละประเทศ รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Transfer of Technology) และสร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้งควรพิจารณาจัดตั้งกองทุนเอเชียตะวันออก เพื่อช่วยรองรับโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น และสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาต่อไป


 ประโยชน์ของการรวมกลุ่มอาเซียน +6  

            จากรายงานการศึกษาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เมื่อปี พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2552 พบว่า การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศเอเชียตะวันออกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.11% หรือหากวัดเฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ จะเพิ่มขึ้น 3.83% และเมื่อดูเฉพาะของประเทศไทยแล้วจะพบว่า ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจะเพิ่มขึ้นถึง 4.78% เลยทีเดียว ในขณะที่ประเทศ+6 มีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพิ่มขึ้น 2.6%


นอกจากนี้ อาเซียน +6 จะช่วยปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศสมาชิก ดังนี้


             1. ขยายอุปสงค์ภายในภูมิภาค (Domestic demand within the region)

             2. เพิ่มประสิทธิผลทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเน้นความชำนาญในการผลิตสินค้าของแต่ละประเทศ (Product specialization)

             3. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างประเทศสมาชิก โดยเฉพาะเรื่อง Logistics ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้จะนำไปสู่การลดช่องว่างของระดับการพัฒนาในแต่ละประเทศสมาชิก รวมถึงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่แน่นเฟ้นยิ่งขึ้น

            นอกจากนี้ CEPEA จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกรรมทางการค้าลง อันเนื่องมาจากกฎระเบียบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน (Harmonized market rules) ดังจะเห็นได้ว่า หัวใจสำคัญที่ทำให้เกิดการร่วมกลุ่มกันเป็นอาเซียน +6 ก็คือ ผลประโยชน์ทางด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่า การรวมกลุ่มกันเช่นนี้จะช่วยให้ประเทศสมาชิกได้ประโยชน์มหาศาล อีกทั้งยังเป็นการยกระดับขีดความสามารถของแต่ละประเทศให้สูงขึ้น เพื่อแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้อีกด้วย

อาเซียน +3

กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 (ASEAN+3) เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศนอกกลุ่ม 3 ประเทศ คือ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) โดยให้อาเซียนและกระบวนการต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของการจัดตั้งกรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสามเมื่อปี 2007 (พ.ศ.2550)

ผู้นำของประเทศสมาชิกได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออกฉบับที่ 2 (Second Joint Statement on East Asia Cooperation: Building on the Foundations of ASEAN Plus Three Cooperation) พร้อมกับเห็นชอบให้มีการจัดทำแผนดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน (ASEAN+3 Cooperation Work Plan (2007 – 2017)) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระยะยาว และผลักดันให้เกิดชุมชนอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลก และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนา และด้านการส่งเสริมกรอบการดำเนินงานในด้านต่างๆและกลไกต่างๆ ในการติดตามผล โดยแผนความร่วมมือดังกล่าวทั้ง 5 ด้านนี้ ถือเป็นการประสานความร่วมมือและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนกับประเทศในเอเชียตะวันออกมากยิ่งขึ้น

อาเซียน +3 ประกอบด้วยสมาชิก 13 ชาติ คือ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน รวมกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งมีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 2,000 ล้านคน หรือหนึ่งในสามของประชากรโลก แต่เมื่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เข้าด้วยกัน จะทำให้มีมูลค่าถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 16 ของจีดีพีโลก ขณะที่ยอดเงินสำรองต่างประเทศรวมกันจะสูงถึง 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐซึ่งมากกว่ากึ่งหนึ่งของเงินสำรองต่างประเทศของโลก โดยตัวเลขทางเศรษฐกิจเหล่านี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอาเซียน+3 จะมีบทบาทเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

จากความร่วมมือดังกล่าวประเทศสมาชิกอาเซียน จะได้รับผลประโยชน์จากความร่วมมือในกรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียนบวก+3 (FTA Asian +3) มูลค่าประมาณ 62,186 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และประเทศไทยในฐานะสมาชิกอาเซียนจะได้รับประโยชน์มากที่สุด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 7,943 ล้านดอลลาร์ ขณะที่อินโดนีเซียมีแนวโน้มจะได้ประโยชน์ใกล้เคียงกัน คือประมาณ 7,884 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเวียดนามคาดว่าจะได้รับประโยชน์มูลค่าประมาณ 5,293 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน + 3 สมัยพิเศษ (Special ASEAN+3 Financial Ministers Meeting) ที่ จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมา ได้มีการสนับสนุนการใช้เวทีหารือด้านนโยบายและกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ของภูมิภาคอาเซียน อาทิ ข้อริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐมนตรีคลังสนับสนุนให้มีกระบวนการเฝ้าระวัง โดยร่วมมือกับสถาบันการเงินในภูมิภาคและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รวมทั้งข้อริเริ่มเชียงใหม่ ที่รัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 จำเป็นจะต้องเร่งรัดกระบวนการไป สู่ระดับพหุภาคี เพื่อเป็นกันชนรองรับเศรษฐกิจอ่อนแอในอนาคต

ทั้งนี้ที่ประชุมมีข้อสรุปว่า จะขยายผลความตกลงริเริ่มเชียงใหม่ในการจัดตั้งกองทุนสำรองระหว่างประเทศร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน (Currency Swap) จากเดิม 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 120,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4.2 ล้านล้านบาท เบื้องต้นคาดว่า 3 ประเทศนอกกลุ่มอาเซียน คือจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น จะลงเงินสำรองร้อยละ 80 ของวงเงิน รวม หรือ 9.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และกลุ่มประเทศอาเซียนอีกร้อยละ 20 หรือ 2.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งกองทุนดังกล่าวจะมีรูปแบบคล้ายกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund :IMF) แต่ก็ไม่ใช่คู่แข่งของ IMF แต่จะเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งของเอเชียที่จะมีกองทุนระหว่างประเทศเป็นของตนเอง โดยประเทศจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ลงเงินรวมกันประมาณร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 ที่เหลือกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ จะลงทุนร่วมกัน ขณะที่ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย จะต้องใส่เงินลงทุนมากกว่าอีก 5 ประเทศ คือ บรูไน พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา เนื่องจากมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่า โดยคาดว่าจะสามารถเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณารัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 วาระปกติที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในเดือนพฤษภาคม 2552

***สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย/กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ/กระทรวงการต่างประเทศ/หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน

10 การละเล่นพื้นบ้าน เราลืมกันไปหรือยัง?



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก kajarp.wordpress.comกระทรวงวัฒนธรรมคลังปัญญาไทย

           ยุคนี้เป็นยุคแห่งเทคโนโลยีและการสื่อสารไปแล้วจริง ๆ เพราะไม่ว่ามองไปทางไหน ก็จะเห็นเด็กตัวเล็กตัวน้อย แชทบีบี ทวิตเตอร์ ฟังไอพอด เปิดคอมพิวเตอร์เล่นเกม เล่นเฟซบุ๊ก กันอย่างสนุกสนานซะแล้ว เรียกว่า ใช้เวลาอยู่แต่หน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวันทั้งคืน จนอาจทำให้เด็กรุ่นใหม่ ๆ ไม่เคยรู้จักและได้ยินการละเล่นพื้นบ้านของไทยไปเลยก็มี หรือหากใครที่รู้จัก และเคยเล่นการละเล่นพื้นบ้านมาแล้ว

           วันนี้กระปุกดอทคอมจะชวนกันมาย้อนอดีตไปในวัยเด็ก ขอรื้อฟื้นความสนุกสนานกับ 10 การละเล่นพื้นบ้าน ที่หลายคนอาจจะหลงลืมไปแล้ว 


 เล่นซ่อนหา หรือ โป้งแปะ

           "เล่นซ่อนหา" หรือ "โป้งแปะ" เป็นหนึ่งในการละเล่นพื้นบ้านที่มีมาช้านาน และยังได้รับความนิยมอยู่ทุกยุคทุกสมัย เพราะกติกาง่าย แถมสนุก และต้องมีการกำหนดอาณาเขต เพื่อไม่ให้กว้างจนเกินไป จนถึงวันนี้ก็ยังมีเด็ก ๆ จับกลุ่มกันเล่นซ่อนหาให้เห็นกันอยู่ 

           โดยกติกาก็คือ คนที่เป็น "ผู้หา" ต้องปิดตา และให้เพื่อน ๆ ไปหลบหาที่ซ่อน โดยอาจจะนับเลขก็ได้ ส่วน "ผู้ซ่อน" ในสมัยก่อนจะต้องร้องว่า "ปิดตาไม่มิด สาระพิษเข้าตา พ่อแม่ทำนาได้ข้าวเม็ดเดียว" แล้วแยกย้ายกันไปซ่อน เมื่อ "ผู้หา" คาดคะเนว่าทุกคนซ่อนตัวหมดแล้ว จะร้องถามว่า "เอาหรือยัง" ซึ่งเมื่อ "ผู้ซ่อน" ตอบว่า "เอาล่ะ" "ผู้หา" ก็จะเปิดตาและหาเพื่อน ๆ ตามจุดต่าง ๆ เมื่อหาพบจะพูดว่า "โป้ง..(ตามด้วยชื่อผู้ที่พบ)" ซึ่งสามารถ "โป้ง" คนที่เห็นในระยะไกลได้ จากนั้น "ผู้หา" จะหาไปเรื่อย ๆ จนครบ ผู้ที่ถูกหาพบคนแรกจะต้องมาเปลี่ยนมาเป็น "ผู้หา" แทน แต่หากใครซ่อนเก่ง "ผู้หา" หาอย่างไรก็ไม่เจอสักที "ผู้ซ่อน" คนที่ยังไม่ถูกพบสามารถเข้ามาแตะตัว "ผู้หา" พร้อมกับร้องว่า "แปะ" เพื่อให้ "ผู้หา" เป็นต่ออีกรอบหนึ่งได้

           ประโยชน์จากการเล่นซ่อนหา ก็คือ ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต สามารถจับทิศทางของเสียงได้ รวมทั้งรู้จักประเมินสถานที่ซ่อนตัว จึงฝึกความรอบคอบได้อีกทาง นอกจากนี้ยังทำให้ผู้เล่นสนุกสนาน อารมณ์แจ่มใจเบิกบานไปด้วย


 หมากเก็บ

           การละเล่นยอดฮิตสำหรับเด็กผู้หญิงนั่นเอง ปกติจะใช้ผู้เล่น 2-4 คน และใช้ก้อนกรวดกลม ๆ 5 ก้อนเป็นอุปกรณ์

           กติกาก็คือ ต้องมีการเสี่ยงทายว่าใครจะได้เล่นก่อน โดยใช้วิธี "ขึ้นร้าน" คือแบมือถือหมากทั้ง 5 เม็ดไว้ แล้วโยนหมาก ก่อนจะหงายมือรับ แล้วพลิกมือกลับรับหมากอีกที ใครมีหมากอยู่บนมือมากที่สุด คนนั้นจะได้เป็นผู้เล่นก่อน

           จากนั้นจะแบ่งการเล่นเป็น 5 หมาก โดยหมากที่ 1 ทอดหมากให้อยู่ห่าง ๆ กัน แล้วเลือกลูกนำไว้ 1 เม็ด ก่อนจะไล่เก็บหมากที่เหลือ โดยการโยนเม็ดนำขึ้น พร้อมเก็บหมากครั้งละเม็ด และต้องรับลูกที่โยนขึ้นให้ได้ ถ้ารับไม่ได้ถือว่า "ตาย" หรือถ้ามือไปถูกเม็ดอื่นก็ถือว่า "ตาย" เช่นกัน

           ในหมากที่ 2 ก็ใช้วิธีการเดียวกัน แต่เก็บทีละ 2 เม็ด เช่นเดียวกับหมากที่ 3 ใช้เก็บทีละ 3 เม็ด ส่วนหมากที่ 4 จะไม่ทอดหมาก แต่จะใช้ "โปะ" คือถือหมากทั้งหมดไว้ในมือ โยนลูกนำขึ้นแล้วโปะเม็ดที่เหลือลงพื้น แล้วรวมทั้งหมดที่ถือไว้ "ขึ้นร้าน" ได้กี่เม็ดถือเป็นแต้มของผู้เล่นคนนั้น ถ้าไม่ได้ถือว่า "ตาย" แล้วให้คนอื่นเล่นต่อไป โดย "ตาย" หมากไหนก็เริ่มที่หมากนั้น ปกติการเล่นหมากเก็บจะกำหนดไว้ที่ 50-100 แต้ม ดังนั้นเมื่อแต้มใกล้ครบ เวลาขึ้นร้านต้องระวังไม่ให้แต้มเกิน ถ้าเกินต้องเริ่มต้นใหม่

           อย่างไรก็ตาม ปกติแล้ว "หมากเก็บ" มีวิธีเล่นหลายอย่าง แต่ละอย่างก็จะมีชื่อเรียกต่างกันไป เช่น หมากพวง , หมากจุ๊บ ,อีกาเข้ารัง


 รีรีข้าวสาร

           เชื่อเลยว่า ชีวิตในวัยเด็กของคนส่วนใหญ่ผ่านการละเล่น "รีรีข้าวสาร" มาแล้ว และยังร้องบทร้องคุ้นหูที่ว่า "รีรี ข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก เด็กน้อยตาเหลือก เลือกท้องใบลาน คดข้าวใส่จาน คอยพานคนข้างหลังไว" ได้ด้วย

           กติกา รีรีข้าวสาร ก็คือ ต้องมีผู้เล่น 2 คนหันหน้าเข้าหากัน และเอามือประสานกันไว้เป็นรูปซุ้ม ส่วนผู้เล่นคนอื่น ๆ จะกี่คนก็ได้จะยืนเกาะเอวกันไว้ตามลำดับ หัวแถวจะพาขบวนลอดซุ้มพร้อมร้องเพลง "รีรีข้าวสาร" จนเมื่อถึงประโยคที่ว่า "คอยพานคนข้างหลังไว้" ผู้ที่ประสานมือเป็นซุ้มจะลดมือลงกันไม่ให้คนสุดท้ายผ่านเข้าไป เรียกว่า "คัดคน" และเล่นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนคนหมด

           ประโยชน์ของการเล่นรีรีข้าวสาร ก็คือ ช่วยให้จิตใจร่าเริงแจ่มใส รู้จักมีไหวพริบ ใช้กลยุทธ์ให้ตัวเองเอาตัวรอดจากการถูกคล้องไว้ได้ รวมทั้งฝึกให้เด็กทำงานเป็นกลุ่มได้ด้วย


 มอญซ่อนผ้า

           การละเล่นแสนสนุกที่ทำให้ผู้เล่นได้ลุ้นไปด้วย โดยใช้อุปกรณ์เพียงแค่ผ้าผืนเดียวเท่านั้น แล้วให้ผู้เล่นเสี่ยงทาย ใครแพ้คนนั้นต้องเป็น "มอญ" ส่วนคนอื่น ๆ มานั่งล้อมวง คนที่เป็น "มอญ" จะต้องถือผ้าไว้ในมือแล้วเดินวนอยู่นอกวง จากนั้นคนนั่งในวงจะร้องเพลงว่า "มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่นไว้นี่ ฉันจะตีก้นเธอ" 

           ระหว่างเพลงร้องอยู่ คนที่เป็น "มอญ" จะแอบทิ้งผ้าไว้ข้างหลังผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง แต่เมื่อทิ้งผ้าแล้ว จะแกล้งทำเป็นยังไม่ทิ้ง โดยเดินวนไปอีก 1 รอบ หากผู้ที่ถูกทิ้งผ้าไม่รู้ตัว "มอญ" จะหยิบผ้ามาตีหลังผู้เล่นคนนั้น แล้วต้องกลายเป็น "มอญ" แทน แต่หากผู้เล่นรู้ตัวว่ามีผ้าอยู่ข้างหลัง ก็จะหยิบผ้ามาวิ่งไล่ตี "มอญ" รอบวง "มอญ" ต้องรีบกลับมานั่งแทนที่ผู้เล่นคนนั้น แล้วผู้ที่วิ่งไล่ต้องเปลี่ยนเป็น "มอญ" แทน


 เดินกะลา

           ดูจะเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่หาดูได้ไม่บ่อยนัก แต่หากเป็นสมัยก่อนจะเห็นเด็ก ๆ เดินกะลา กันทั่วไป โดยผู้เล่นจะต้องนำกะลามะพร้าว 2 อันมาทำความสะอาดแล้วเจาะรูตรงกลาง ร้อยเชือกให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้เชือกหลุดเวลาเดิน เวลาเดินให้ใช้นิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้คีบเชือกเอาไว้แล้วเดิน หากมีเด็ก ๆ หลายคนอาจจัดแข่ง เดินกะลา ได้ด้วยการกำหนดเส้นชัยไว้ใครเดินถึงก่อนก็เป็นผู้ชนะไป

           ประโยชน์ของการ เดินกะลา ก็คือช่วยฝึกการทรงตัว ความสมดุลของร่างกาย เพราะต้องระวังไม่ให้ตกกะลา ช่วงแรก ๆ อาจจะรู้สึกเจ็บเท้า แต่ถ้าฝึกบ่อย ๆ จะชินและหายเจ็บไปเอง แถมยังทำให้ร่างกายแข็งแรง เพลิดเพลินอีกด้วย


 กาฟักไข่

           เป็นอีกหนึ่งการละเล่นที่เคยได้ยินชื่อ แต่หลายคนไม่ทราบกติกา โดยวิธีการเล่นก็คือ ใช้อะไรก็ได้ลักษณะกลม ๆ เท่าจำนวนคนเล่น ยกเว้นผู้ที่เป็นกา 1 คน มาสมมติว่าเป็น "ไข่" แล้วเขียนวงกลมลงบนพื้น 2 วง วงแรกเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 ฟุต และอีกวงหนึ่งอยู่ข้างในวงแรก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ฟุต วาง "ไข่" ทั้งหมดไว้ในวงกลมเล็ก ให้คนใดคนหนึ่งเป็นกา ยืนในวงกลมวงใหญ่ หรือนั่งคร่อมวงกลมเล็ก นอกนั้นทุกคนยืนรอบนอกวงกลมวงใหญ่ คอยแย่งไข่ คนเป็นกามีหน้าที่ป้องกันไข่ ไม่ให้ถูกแย่งไป

           กติกาของ กาฟักไข่ ก็คือคนข้างนอกต้องแย่งไข่มาให้ได้ โดยใช้แขนหรือมือเอื้อมเข้าไป แต่ห้ามนำตัวเข้าไปในวงกลม และต้องระวังไม่ให้อีกาถูกมือหรือแขนได้ด้วย หากแย่งไข่ออกมาได้หมดแล้ว ให้ปิดตากา แล้วนำไข่ทั้งหมดไปซ่อน เพื่อให้กาตามหาไข่ หากพบไข่ที่ผู้เล่นคนใดนำไปซ่อน ผู้นั้นจะต้องเปลี่ยนมาเป็นกาแทน


 งูกินหาง

           "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน..." ประโยคคุ้น ๆ ให้การเล่น งูกินหาง ที่ยังติดตรึงในความทรงจำของใครหลาย ๆ คน และเป็นที่นิยมของเด็กในทุกเทศกาล ทุกโอกาสอีกด้วย

           วิธีการเล่นงูกินหาง เริ่มจากเสี่ยงทาย ใครแพ้ต้องไปเป็น "พ่องู" ส่วนผู้ชนะที่มีร่างกายแข็งแรง ตัวใหญ่จะเป็น "แม่งู" ไว้คอยปกป้องเพื่อน ๆ คนอื่นที่เป็น "ลูกงู" จากนั้น "ลูกงู" จะเกาะเอวแม่งูและต่อแถวกันไว้ ยืนเผชิญหน้ากับ "พ่องู" จากนั้นจะเข้าสู่บทร้อง โดยพ่องูจะถามว่า

           พ่องู : "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"

           แม่งู : "กินน้ำบ่อโสกโยกไปโยกมา" (พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา)

           พ่องู : "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"

           แม่งู : "กินน้ำบ่อหินบินไปบินมา" (พร้อมแสดงอาการบินไปบินมา)

           พ่องู : "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"

           แม่งู : "กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา" (พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา)

           จากนั้นพ่องูจะพูดว่า "กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว" แล้ววิ่งไล่จับลูกงูที่กอดเอวอยู่ ส่วนแม่งูก็ต้องป้องกันไม่ให้พ่องูจับลูกงูไปได้ เมื่อลูกงูคนไหนถูกจับ จะออกจากแถวมายืนอยู่ด้านนอก เพื่อรอเล่นรอบต่อไป หากพ่องูแย่งลูกได้หมด จะถือว่าจบเกมแล้วเริ่มเล่นใหม่ โดยพ่องูจะกลับไปเป็นแม่งูต่อในรอบต่อไป

           ประโยชน์ของการเล่นงูกินหาง ก็คือ ทำให้ผู้เล่นเกิดความสามัคคี ทำงานเป็นกลุ่ม รู้จักช่วยเหลือกัน และรู้จักการต่อสู้เพื่อเอาตัวรอด เมื่อภัยมาถึงตัว นอกจากนี้ยังฝึกร่างกายให้แข็งแรง และจิตใจเบิกบานสนุกสนานไปด้วย


 ม้าก้านกล้วย

           เป็นอีกหนึ่งการละเล่นที่แสดงถึงความมีภูมิปัญญาของคนไทยทีเดียว เพราะในสมัยก่อนแทบทุกบ้านจะปลูกต้นกล้วยไว้ทั้งนั้น ดังนั้น ต้นกล้วยจึงนำมาประยุกต์เป็นของเล่นให้เด็ก ๆ ได้อย่างดีทีเดียว โดยเฉพาะ ม้าก้านกล้วย ดูเหมือนจะถูกอกถูกใจเด็กชายวัยซนมากที่สุด เพราะเด็ก ๆ จะนำก้านกล้วยมาขี่เป็นม้า เพื่อแข่งขันกัน หรือทำเป็นดาบรบกันก็ได้

           วิธีทำม้าก้านกล้วย ก็ไม่ยาก เลือกตัดใบกล้วยออกมาแล้วเอามีดเลาะใบกล้วยออก แต่เหลือไว้ที่ปลายเล็กน้อยให้เป็นหางม้า เอามีดฝานแฉลบด้านข้างก้านกล้วยตรงโคนบาง ๆ เพื่อทำเป็นหูม้า แล้วหักก้านกล้วยตรงโคนหูม้าออก จากนั้นก็นำแขนงไม้ไผ่มาเสี้ยมปลายให้แหลม ความยาวประมาณคืบกว่า ๆ เสียบหัวม้าที่พับเอาไว้จนทะลุไปถึงก้าน เพื่อให้เป็นสายบังเหียนผูกปากกับคอม้านั่นเอง เสร็จแล้วก็นำเชือกกล้วยมาผูกด้านหัวม้าและหางม้า ทำเป็นสายสะพายบ่า แค่นี้ก็ได้ม้าก้านกล้วยไปสนุกกับเพื่อน ๆ แล้ว


 ทอยเส้น

           หากย้อนไปสักปี พ.ศ.2510-2530 ทอยเส้นจะเป็นที่นิยมกับเด็ก ๆ อย่างมาก โดยอุปกรณ์การเล่นจะใช้ตัวตุ๊กตุ่นพลาสติกหรือยาง ขนาดความสูง 4-5 เซนติเมตร  (ที่แถมมากับขนมอบกรอบซึ่งฮิตมากในยุคนั้น) มาใช้ทอย และต้องมีพื้นถนนที่มีเส้นรอยต่อระหว่างบล็อก ระยะห่างประมาณ 3-5 เมตร หรือใช้การขีดลากเส้น 2 เส้นแทนก็ได้

           วิธีการเล่นทอยเส้น คือต้องเสี่ยงหาคนทอยก่อน โดยใช้วิธีเป่ายิงฉุบ โอน้อยออก ฯลฯ แล้วแต่จะเลือก หรือจะทอยเปล่า เพื่อดูว่าใครใกล้-ไกลเส้นมากกว่า คนที่ไกลเส้นที่สุดจะต้องเริ่มทอยก่อน เพราะจะเสียเปรียบที่สุด ส่วนคนที่ทอยทีหลังจะได้เปรียบ เพราะเลือกหาทางหนีทีไล่ได้ดีกว่า

           เมื่อกำหนดลำดับผู้เล่นแล้ว ให้ผู้เล่นยืนจรดเท้าอยู่เส้นแรก ห้ามล้ำเส้นออกไป แล้วใช้แขนเหวี่ยงตุ๊กตุ่นในมือออกไป ให้ตก หรือทับเส้นที่สอง เมื่อทอยครบทุกคน ให้เปรียบเทียบ ตุ๊กตุ่นของใครใกล้เส้นที่สุดเป็นผู้ชนะ จากนั้น ผู้ชนะจะยืนที่ตำแหน่งตุ๊กตุ่นของตัวเอง แล้วใช้ตุ๊กตุ่นของตัวเองเอื้อม หรือปาไปให้โดนตัวอื่นที่อยู่ห่างเส้นในลำดับถัดไป เพื่อจะได้กิน (ครอบครอง) ตุ๊กตุ่นตัวนั้นไว้ หากกินได้ ผู้เล่นคนอื่นจะถูกลงโทษตามตกลง เช่น ดีดมะกอก ฯลฯ เมื่อจบรอบแรก ก็หันหลังกลับ ยืนจรดเส้นที่สอง แล้วทอยกลับไปให้ใกล้เส้นแรกมากที่สุด ด้วยกติกาเช่นเดิม โดยดูแล้วมีลักษณะคล้ายการเล่นทอยเหรียญ หรือ Pitch and Toss ของต่างประเทศ

           อย่างไรก็ตาม การเล่นทอยเส้น ไม่ค่อยได้รับความนิยมในช่วงหลัง ๆ เพราะเมื่อเด็กเติบโตขึ้นก็เปลี่ยนการใช้ตุ๊กตุ่นไปเป็นเงิน จนดูคล้ายเป็นการพนันไป


 ว่าวไทย

           เชื่อว่าหลายคน คงเคยมีประสบการณ์การเล่นว่าวในช่วงปิดเทอมที่ท้องสนามหลวงมาแล้ว แม้ว่าตอนนี้ภาพนั้นจะค่อย ๆ จางหายไปแล้วก็ตาม โดย "การเล่นว่าวไทย" นั้น เริ่มมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเรื่อยมา ตามที่ปรากฎหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และถือเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงภูมิปัญญาพื้นบ้านและวัฒนธรรมของไทยได้อย่างดี เพราะแต่ละท้องถิ่นจะคิดประดิษฐ์ว่าวแตกต่างกันไป "ว่าวไทย" จึงกลายเป็นมรดกตกทอดของแต่ละชุมชนและมีลักษณะเฉพาะตัวที่โดดเด่น

           โดย "ว่าว" มีหลายประเภท เช่น "ว่าวจุฬา" มีลักษณะเป็น 5 แฉก นิยมเล่นในภาคกลาง ,"ว่าววงเดือน" หรือ "ว่าวบุหลัน" มักตกแต่งเป็นลวดลายเรือกอและ นิยมเล่นในภาคใต้ตอนล่าง นอกจากนี้ยังมี "ว่าวปักเป้า""ว่าวงู" ฯลฯ 

           การเล่นว่าวนั้น เล่นได้ทั้งหน้าหนาวและหน้าร้อน โดยอาศัยกระแสลมเป็นตัวฉุดให้ว่าวลอยขึ้น โดยหากเป็นลมหน้าหนาว จะเป็นลมที่พัดจากผืนแผ่นดินลงสู่ทะเล ทำให้คนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมเล่นว่าวกันในช่วงนี้ ส่วนหน้าร้อน มีลมตะวันตกเฉียงใต้จากทะเลพัดสู่ผืนแผ่นดินใหญ่ เรียกว่า "ลมตะเภา" ทำให้ชาวภาคกลาง ภาคตะวันตกและภาคใต้ นิยมเล่นว่าวในฤดูนี้

           ส่วนวิธีการเล่นว่าวนั้น ส่วนใหญ่จะชักว่าวให้ลอยสูงติดลมบน เพื่อดูความสวยงามของว่าวรูปต่าง ๆ หรือฟังเสียงของว่าว นอกจากนี้ยังสามารถชักว่าวต่อสู้กันบนอากาศก็ได้

           ยังมีอีกหลายการละเล่นที่เด็กไทยสมัยก่อนนิยมนำมาเล่นกัน เช่น ขี่ม้าส่งเมือง, ตี่จับ, โมราเรียกชื่อ, ลิงชิงหลัก, ตั้งเต, โพงพาง, ชักเย่อ ,กระต่ายขาเดียว, กระโดดยาง ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นภูมิปัญญาของคนไทย ที่สร้างสรรค์มรดกตกทอดทางวัฒนธรรมให้กับลูก ๆ หลาน ๆ ได้อย่างดีทีเดียว